รัฐธรรมนูญฉบับนี้มีสาระสำคัญแตกต่างจากฉบับอื่นอย่างไร ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

ส่วนที่แรก พระมหากษัตริย์ทรงเลือกและแต่งตั้งประธานองคมนตรีคนหนึ่ง และองคมนตรีไม่มากกว่า 8 คนเป็นคณะองคมนตรี องคมนตรีต้องไม่เป็นข้าราชการประจำหรือข้าราชการพลเรือนและต้องไม่แสดงการฝักใฝ่ในพรรคการเมืองใด ๆ

ส่วนที่สอง ได้มีการกำหนดสิทธิเสรีภาพ ตลอดจนหน้าที่ของชนชาวไทย วุฒิสภา


ส่วนที่สี่ อำนาจนิติบัญญัติ โดยให้มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยวุฒิสภาและสภาผู้แทนวุฒิสภา และมีสมาชิกจำนวน 100 คน โดยประธานวุฒิสภาเป็นประธานรัฐสภา ส่วนสภาผู้แทน มีสมาชิกมาจากการที่ราษฎรเลือกตั้ง ให้ถือเกณฑ์ราษฎร 150,000 คนต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฏร 1 คน ถ้าราษฎรถึง 75,000 คนหรือกว่านั้น ให้นับเป็น 150,000 คน และมีสมาชิกสภา ผู้แทนได้ 1 คนหลักเกณฑ์ในการกำหนดผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์ การเลือกตั้งส่วนสมาชิกสภาผู้แทนต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 30 ปีบริบูรณ์ในวันเลือกตั้งการลงมติไว้วางใจหรือไม่ไว้วางใจต่อคณะรัฐมนตรี ให้สภาผู้แทนเป็นผู้กระทำภายหลังที่คณะรัฐมนตรีได้แถลงนโยบายต่อวุฒิสภาแล้ว

ส่วนที่ห้า อำนาจในการบริหาร ห้ามรัฐมนตรีเป็นข้าราชการประจำ ห้ามรัฐมนตรีเป็นกรรมการที่ปรึกษาตัวแทนหรือลูกจ้างของบุคคล หรือห้างหุ้นส่วนหรือองค์การใด ๆ ซึ่งดำเนินธุรกิจเพื่อการค้ากำไร เพื่อป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อนและการทุจริต

ใกล้เคียง

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2557 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511